ReadyPlanet.com
dot
กิจกรรมของมูลนิธิกองทุนรักษ์ช้าง ที่ยังทำอย่างต่อเนื่อง
dot
พระพิฆเนศ ปางนาฏลีลาประทานพร
dot
ค้นหาบทความ

dot
เรารักษ์ช้าง


Swissotel Nai Lert Park Bangkok
Muang Thai Life Assurance
Baiyoke Group of Hotels


การจำแนกงาช้าง

การจำแนกระหว่าง งาช้างปัจจุบัน และงาช้างแมมมอธ
- หากวัตถุมีรอยหัก หรือถูกตัด ให้ดูภาพตัดขวางของวัตถุที่ต้องสงสัย แล้วสังเกตลวดลาย ที่เป็นลักษณะเฉพาะของงา หรือ ที่เรียกว่า Schreger lines ซึ่งเกิดการโครงสร้างของท่อฟันที่เป็นลายสานกัน
ลวดลาย ที่เป็นลักษณะเฉพาะของงช้างยุคปัจจุบัน จะทำมุมประมาณ 115-135 องศา ซึ่งกว้างกว่าของช้างแมมมอธ


ลวดลายของงาช้างปัจจุบัน (Schreger lines in elephant ivory)

ภาพจาก  http://www.fws.gov/lab/ivory_natural.php#elephant

 


ลวดลายของงาช้างแมมมอธ (Schreger lines in mammoth ivory)

ภาพจาก  http://www.fws.gov/lab/ivory_natural.php#elephant

 

การจำแนกระหว่าง งาช้างเอเชีย และช้างแอฟริกา สามารถทำได้ แต่ก็ไม่ง่ายและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง
- การตรวจสอบด้วยการวิเคราะห์ไอโซโทป (Isotope) ของธาตุในงาช้าง ซึ่งอาศัยหลักการที่ว่าช้างอาศัยอยู่ในพื้นที่ ที่มีความแตกต่างกัน เช่น ทะเลทราย ทุ่งหญ้า ไปจนถึงป่าดิบชื้น ย่อมได้รับแร่ธาตุที่แตกต่างกันจากอาหาร โดยเฉพาะธาตุคาร์บอน ไนโตรเจน และสตรอนเซียม

เมื่อเราต้องการจำแนกว่างาช้างมาจากที่ใด ก็ใช้วิธีการวัดปริมาณคาร์บอนที่มีมวลอะตอมแตกต่างกัน (ไอโซโทป) จากงาช้างนั้น เพื่อนำมาวิเคราะห์ว่าช้างเจ้าของงากินอาหารประเภทใดเป็นหลัก เช่น หากพบปริมาณคาร์บอน 13C มากที่สุด ก็หมายความว่า ช้างกินหญ้าเป็นหลัก ซึ่งต่อมา เมื่อได้มีการจัดทำฐานข้อมูล เพื่อเปรียบเทียบกับลักษณะพื้นที่อาศัยแล้ว ก็สามารถเปรียบเทียบได้ว่า งาช้างที่ตรวจสอบพบไอโซโทปของคาร์บอนที่มีมวลอะตอมต่าง ๆ กันนั้น มาจากประเทศอะไร ซึ่งองค์กรอนุรักษ์ในแอฟริกาใต้ ได้ร่วมกันสำรวจและจัดทำมาตรฐานนี้ ตั้งแต่ปี 1995 และยังใช้วิธีการนี้ ในการตรวจสอบแหล่งที่มาของงาช้างแอฟริกา

- การถอดรหัสพันธุกรรม หรือ DNA ก็เป็นอีกวิธีหนึ่ง ที่สามารถนำมาใช้บ่งชี้งาช้างเอเชีย หรืองาช้างแอฟริกาได้ ซึ่งการถอดรหัสพันธุกรรมนี้ สามารถทำได้หลายวิธี เช่น การถอดรหัสพันธุกรรมจากยีนในไมโตรคอนเดรีย หรือ cytochrome b และการสืบจากไมโครแซทเทิลไลท์ (Microsatellite) ซึ่งเป็นสายของดีเอ็นเอ ที่มีลำดับนิวคลีโอไทด์การเรียงตัวซ้ำ ๆ กัน เป็นต้น ซึ่งเมื่อนักวิทยาศาสตร์ถอดรหัสพันธุกรรมออกมาได้แล้ว ก็ต้องนำมาเปรียบเทียบกับฐานข้อมูลรหัสพันธุกรรมที่มีอยู่ เพื่อให้ทราบว่าเป็นรหัสพันธุกรรมของช้างชนิดใด

 

แหล่งข้อมูลอ้างอิง

1. กาญจนา นิตยะ. (2556). การควบคุมการค้างาช้างของประเทศไทย. จาก http://www.mfa.go.th/dvifa/contents/filemanager/files/nbt/nbt5/IS/IS5052.pdf

2. นายปรี๊ด. (2556). นักสืบงาช้าง - Science - Manager Online. Retrieved March 30, 2015, from http://www.manager.co.th/Science/ViewNews.aspx?NewsID=9560000029460

3. Gina Allnatt. (2012, February 25). Schreger Lines and Narwhal Tusks. Retrieved April 1, 2015, from https://curatorialtrainee.wordpress.com/2012/02/25/schreger-lines-and-narwhal-tusks/

4. Ivory Identification Guide - U.S. Fish and Wildlife Service Forensics Laboratory. (n.d.). Retrieved March 30, 2015, from http://www.fws.gov/lab/ivory_natural.php#elephant

 

 




เรื่องจริงของช้าง

เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับฟันของช้าง
ช้างกับการดมกลิ่น article
หูและใบหูของช้าง article
ผิวหนังช้าง article
การมองเห็นของช้าง article
เรื่องของอวัยวะช้าง article
สังคมของช้าง article
ลักษณะที่แตกต่างกันของช้างเอเชียและช้างแอฟริกา article
ช้างเอเชีย article
ช้างแอฟริกา article