ช้างมี ฟันตัด 1 คู่ ข้างหน้าด้านบน ที่มีลักษณะยื่นยาวออกไป เรียกว่า งา (ซึ่งเป็นฟันตัดซี่ที่ 2) แต่ไม่มีฟันตัดหรือฟันหน้าด้านล่าง ส่วนฟันกราม มีทั้งด้านบนและด้านล่าง
ช้างเอเชีย จะมีงายาว เฉพาะในเพศผู้ ส่วนในเพศเมีย อาจมีงาสั้น ๆ เรียกว่า "ขนาย" ส่วนช้างแอฟริกา มีงายาว ทั้งในเพศผู้และเพศเมีย
อัตราการงอกยาวของงาช้างเพศผู้ คิดเป็น ปีละประมาณ 17 เซนติเมตร
ภาพหน้าตัดฟันของช้างแอฟริกา (บน) และช้างเอเชีย (ล่าง)
(Credit Photo: Public Domain)
หน้าตัดของฟันช้างเอเชีย และช้างแอฟริกามีรูปร่างแตกต่างกัน หน้าตัดฟันของช้างเอเชียจะเป็นรูปวงรียาว ๆ เรียงขนานกันไป ส่วนหน้าตัดฟันของช้างแอฟริกาจะเป็นรูปสี่เหลี่ยมข้าวหลามตัด เรียงขนานกันไป ลักษณะของฟันนี่เอง เป็นที่มาของชื่อสกุลช้างแอฟริกา ว่า "Loxdonta"
ช้างมีฟันน้ำนม 1 ชุด ซึ่งไม่ได้มีบทบาทสำคัญอะไรมากนัก เหมือนเป็นเพียงโครงสร้างรากฐานให้กับฟันแท้ และจะถูกแทนที่เมื่อช้างมีอายุ 6-12 เดือน ส่วนฟันแท้ จะมีทั้งหมด 6 ชุด โดยจะเจริญจากกรามที่อยู่ด้านหลัง และเคลื่อนตัวออกมาสู่กรามทางด้านหน้า
ฟันกราม ชุด #
|
จำนวนลาเมลลา
|
อายุที่ฟันโผล่
|
อายุที่ฟันถูกแทนที่ |
1
|
4 |
4 เดือน |
2-2.5 ปี |
2 |
8 |
6 เดือน |
6 ปี |
3 |
12 |
3 ปี |
9 ปี |
4 |
12 |
6 ปี |
25 ปี |
5 |
16 |
20 ปี |
50-60 ปี |
6 |
24 |
40 ปี |
60 ปีขึ้นไป |
แสดงชุดของฟันกรามแท้ จำนวนลาเมลลา (lamella) อายุช้างโดยประมาณ เมื่อฟันจะโผล่ออกมา และเมื่อฟันจะถูกแทนที่
อ้างถึงโดย Dumonceaux, G.A. 2006. Digestive System. In Fowler, M.E. and Mikota, S.K. (Eds), Elephant Biology, Medicine, and Surgery
|