ReadyPlanet.com
dot
กิจกรรมของมูลนิธิกองทุนรักษ์ช้าง ที่ยังทำอย่างต่อเนื่อง
dot
พระพิฆเนศ ปางนาฏลีลาประทานพร
dot
ค้นหาบทความ

dot
เรารักษ์ช้าง


Swissotel Nai Lert Park Bangkok
Muang Thai Life Assurance
Baiyoke Group of Hotels


หูและใบหูของช้าง article

 

หูและใบหูของช้าง

ช้างแอฟริกามีใบหูใหญ่รูปร่างคล้ายทวีปแอฟริกา ส่วนใบหูของช้างเอเชียมีขนาดเล็กกว่ามาก โครงสร้างของใบหูจะมีแผ่นกระดูกอ่อนเป็นโครง แต่แผ่นกระดูกอ่อนนี้ไม่ได้แผ่ขยายไปจนถึงขอบใบหู

หูของช้างมีหน้าที่หลากหลาย เช่นเดียวกับในสัตว์ชนิดอื่น ๆ เช่น ใช้ฟังเสียง การทรงตัว ควบคุมอุณหภูมิร่างกาย และการส่งสัญญาณในสัตว์ชนิดเดียวกัน

ที่ด้านหลังใบหูช้าง มีโครงเครือข่ายของหลอดเลือดดำและหลอดเลือดแดงประสานกันอยู่มากมาย ตำแหน่งนี้เองที่สัตวแพทย์ใช้จับหลอดเลือดแดงเพื่อตรวจวัดชีพจรของช้าง หรือเก็บตัวอย่างเลือดจากหลอดเลือดดำ

โครงสร้างนี้ ยังเป็นส่วนหนึ่งของกลไกที่ช้างใช้ในการควบคุมอุณหภูมิร่างกายอีกด้วย



ช้างจะเอียงหูไปมาเพื่อหาตำแหน่ง แหล่งที่มาของเสียง มันยังใช้เป็นท่าทางส่งสัญญาณเตือนหรือสื่อสารกันกับช้างตัวอื่น ๆ เมื่อตกอยู่ในสถานการณ์ที่ช้างไม่แน่ใจ ไม่ไว้วางใจ มันอาจกางหูออก พร้อมกับหันไปทางต้นกำเนิดของเสียง แต่เมื่อเวลาอารมณ์ไม่ดี มันจะกางหูออก เพื่อให้ดูตัวใหญ่ขึ้นเป็นการข่มขู่ พร้อมกับจ้องเขม็งไปยังเป้าหมาย และอาจจู่โจมได้ทันที

ความสามารถในการได้ยินเสียงของช้าง

ช้างสามารถสร้างเสียงที่มีคลื่นความถี่ต่ำกว่าที่มนุษย์จะได้ยินได้ สันนิษฐานเอาว่าช้างใช้คลื่นความถี่ต่ำนี้ เพื่อการสื่อสารกันในระยะทางไกล ๆ ช้างจึงได้ยินเสียงที่มีคลื่นความถี่ต่ำค่อนข้างดี โดยอยู่ช่วงระหว่าง 17 - 10,500 เฮิรตซ์ (Hz) เสียงที่มีความถี่ต่ำที่สุดที่ช้างได้ยิน ต่ำกว่าที่มนุษย์ได้ยินมาก

ในทางกลับกัน ช้างไม่สามารถได้ยินเสียงที่มีความถี่เหนือกว่า 10,500 Hz ในช่วงความเข้มเสียงที่ 60 เดซิเบล แม้ว่าจะเพิ่มความเข้มเสียงให้สูงขึ้น ช้างก็ไม่สามารถได้ยินเสียงที่มีความถี่เหนือกว่า 12,000 Hz ได้

ช่วงความถี่ที่มนุษย์ได้ยินเสียง อยู่ระหว่าง 31 - 19,000 Hz



ตารางเปรียบเทียบช่วงความถี่ของคลื่นเสียงที่มนุษย์และสัตว์ต่าง ๆ ได้ยิน

By Cmglee (Own work) [CC BY-SA 3.0 (http://creativecommons.org/licenses/by-sa/3.0) ]

กลไกการควบคุมอุณหภูมิร่างกายของช้างผ่านใบหู

นอกจากใบหูช้างจะมีขนาดใหญ่แล้ว ยังมีสัดส่วนพื้นที่ผิวต่อปริมาตรค่อนข้างสูง ประกอบกับโครงเครือข่ายของหลอดเลือดดำและแดง และการโบกพัดหูของช้าง รวมเป็นกลไลหนึ่งที่ช้างใช้ในการระบายความร้อน

เมื่อช้างแอฟริกาโบกหูจะเพิ่มพื้นผิวเพื่อแผ่ความร้อน ได้ 13-20% แม้กระนั้น ก็พบว่าช้างแอฟริกาไม่ค่อยโบกหู จนกว่าอุณหภูมิแวดล้อมจะสูงถึง 25 องศาเซลเซียส

ในขณะที่ การโบกหูของช้างเอเชียเพิ่มพื้นที่ผิวเพื่อแผ่ความร้อนได้เพียง 7-10% เพราะใบหูมีขนาดเล็กกว่า

อย่างไรก็ตามความร้อนที่สูญเสียผ่านใบหูมีเพียง 8% ของความร้อนทั้งหมดที่ช้างจะสูญเสียออกจากร่างกาย 

 




เรื่องจริงของช้าง

การจำแนกงาช้าง
เรื่องน่ารู้ เกี่ยวกับฟันของช้าง
ช้างกับการดมกลิ่น article
ผิวหนังช้าง article
การมองเห็นของช้าง article
เรื่องของอวัยวะช้าง article
สังคมของช้าง article
ลักษณะที่แตกต่างกันของช้างเอเชียและช้างแอฟริกา article
ช้างเอเชีย article
ช้างแอฟริกา article