ReadyPlanet.com
dot
กิจกรรมของมูลนิธิกองทุนรักษ์ช้าง ที่ยังทำอย่างต่อเนื่อง
dot
พระพิฆเนศ ปางนาฏลีลาประทานพร
dot
ค้นหาบทความ

dot
เรารักษ์ช้าง


Swissotel Nai Lert Park Bangkok
Muang Thai Life Assurance
Baiyoke Group of Hotels


Elephant laws project

มูลนิธิกองทุนรักษ์ช้าง มุ่งมั่นที่จะเสนอแนะ ปรับปรุงและแก้ไขกฎหมายเกี่ยวกับช้างที่เก่าแก่และล้าสมัย เพื่อให้มีกฎหมายที่คุ้มครองครอบคลุม สิทธิและสวัสดิภาพช้าง ป้องกันการทารุณกรรมช้าง ตลอดจนการปกป้องคุ้มครองสิ่งแวดล้อม สัตว์ป่าและพันธุ์พืชต่าง ๆ 

        ในด้านการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับช้าง ที่ผ่านมามูลนิธิกองทุนรักษ์ช้าง (ในนามภาคีช้างไทย) ได้จัดทำร่างพระราชบัญญัติ "สัตว์ประจำชาติ" ขึ้น เป็นครั้งแรก เพื่อให้รวมศูนย์การจัดการและอนุรักษ์ช้างให้อยู่ในหน่วยงานเดียวกันและเหมาะสม โดยได้นำเสนอร่างต่อรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ นายประพัฒน์ ปัญญาชาติรักษ์ เมื่อต้นปี 2545 ปัจจุบัน สถาบันคชบาลแห่งชาติ ในพระอุปถัมภ์สมเด็จพระเจ้าพี่นางเธอ เจ้าฟ้ากัลยาณิวัฒนา กรมหลวงนราธิวาสราชนครินทร์ องค์การอุตสาหกรรมป่าไม้ ได้ดำเนินการรับเป็นเจ้าภาพ เพื่อสานต่อโครงการนี้ไปแล้ว

          ตัวอย่างกฎหมายช้างที่ล้าสมัย เช่น เรื่องของการทำตั๋วรูปพรรณช้าง แต่เดิมให้นำช้างมาจดทะเบียนได้ เมื่อช้างมีอายุ 8 ปี ซึ่งอาจเปิดโอกาสให้มีการนำลูกช้างป่ามาสวมทะเบียนได้ง่าย หรือนำลูกช้างขายไปยังต่างประเทศก่อนถึงอายุที่กำหนด ทำให้การติดตามจำนวนช้างเลี้ยงทำได้ยาก มูลนิธิกองทุนรักษ์ช้าง จึงเสนอให้มีการแจ้งลงทะเบียนลูกช้างที่เกิดใหม่ในทันที

           มูลนิธิกองทุนรักษ์ช้าง ยังมีส่วนร่วมหรือสนับสนุนหน่วยงานต่าง ๆ ที่มีการปรับปรุง แก้ไขกฎหมายช้าง อาทิเช่น ร่วมมือกับกรุงเทพมหานคร ในการร่างและนำเสนอข้อบัญญัติ เพื่อป้องกันไม่ให้นำช้างเข้ามาเร่ร่อนในเขตกรุงเทพมหานครได้สำเร็จเป็นแห่งแรก 

          จุดยืนที่เด่นชัด ในการปรับปรุงกฎหมายช้างของมูลนิธิกองทุนรักษ์ช้าง คือ ไม่สนับสนุนการส่งออกและค้าช้าง ไม่ว่ากรณีใด ๆ เนื่องจากจะเป็นการส่งเสริมให้มีการค้าขายช้าง และล่าช้างป่ามาสวมทะเบียนเป็นสัตว์พาหนะได้ และอาจเป็นการเปิดช่องให้มีการค้าขายซากช้าง หรือผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากช้าง หรือซากของช้างอีกด้วย


มูลนิธิกองทุนรักษ์ช้าง จะขอเป็นส่วนหนึ่งในการเผยแพร่ข้อมูล ความรู้ และประชาสัมพันธ์ ในเรื่องเกี่ยวกับกฎหมายที่มีความเกี่ยวข้องกับช้าง รวมถึงสัตว์เลี้ยง สัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อม

เพื่อให้ประชาชนเกิดความรู้ ความเข้าใจที่ถูกต้อง ตลอดจนสามารถช่วยกัน เป็นหูเป็นตา ให้ช้างและสัตว์ชนิดอื่น ๆ ได้รับความคุ้มครองและการดูแลที่ดี


 กลับไปที่ กิจกรรมของมูลนิธิกองทุนรักษ์ช้าง


 



พระราชบัญญัติงาช้าง พ.ศ. 2558

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ โดยที่ปัจจุบันประเทศไทยมีกฎหมายควบคุมการค้า การครอบครอง การนำเข้า การส่งออก การนำผ่านซึ่งงาช้าง หรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากงาช้างตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่า แต่ยังไม่มีกฎหมายควบคุมการค้า การครอบครอง การนำเข้า การส่งออก และการนำผ่านซึ่งงาช้างหรือผลิตภัณฑ์ที่ทำจากงาช้างตามกฎหมายว่าด้วยสัตว์ พาหนะ จึงได้มีการนำช้างป่าตามกฎหมายว่าด้วยการสงวนและคุ้มครองสัตว์ป่ามาสวมสิทธิ และจดทะเบียนเป็นสัตว์พาหนะเพื่อตัดงาช้าง รวมถึงการลักลอบนำเข้างาช้างแอฟริกาเพื่อนำมาค้าหรือแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์ที่ ทำจากงาช้าง ประกอบกับประเทศไทยได้เข้าเป็นภาคีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่ง ชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธุ์ (Convention on International Trade in Endangered Species of Wild Fauna and Flora (CITES)) จึงมีพันธกรณีที่จะต้องปฏิบัติตามอนุสัญญาที่กำหนดให้ประเทศสมาชิกต้องมี มาตรการควบคุมการค้า การครอบครอง การนำเข้า การส่งออก และการนำผ่านซึ่งงาช้างหรือผลิตภัณฑ์ที่ได้มาจากการแปรรูปงาช้างภายในประเทศ มิให้ปะปนกับงาช้างที่ได้มาโดยมิชอบด้วยกฎหมาย จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

พระราชบัญญัติป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ พ.ศ. 2557

เหตุผลในการประกาศใช้พระราชบัญญัติฉบับนี้ คือ เนื่องจากสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึกและเป็นองค์ประกอบสำคัญของ สิ่งแวดล้อม จึงควรได้รับการคุ้มครองมอให้ถูกกระทำการทารุณกรรม และเจ้าของสัตว์ ซึ่งนำสัตว์มาเลี้ยงจะต้องจัดสวัสดิภาพให้เหมาะสมตามประเภทและชนิดของสัตว์ ทั้งในระหว่างการเลี้ยงดู การขนส่ง การนำสัตว์ไปใช้งาน หรือใช้ในการแสดง ดังนั้น เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพสัตว์ เพื่อให้ได้รับการคุ้มครองตามธรรมชาติของสัตว์อย่างเหมาะสม จึงจำเป็นต้องตราพระราชบัญญัตินี้

 

ระเบียบกรุงเทพมหานคร ว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตการนำช้างมาหารายได้ในเขตกรุเทพมหานคร พ.ศ. 2554article

    โดยที่เป็นการสมควรกำหนดระเบียบกรุงเทพมหานครว่าด้วยหลักเกณฑ์การอนุญาตการนำช้างมาหารายได้ในเขตกรุงเทพมหานคร

   อาศัย อำนาจตามความในข้อ 5 และข้อ 15 แห่งข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่องการควบคุมการนำช้างมาหารายได้ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2553 ผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานคร จึงกำหนดระเบียบขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

ข้อบัญญัติกรุงเทพมหานคร เรื่อง การควบคุมการนำช้างมาหารายได้ในเขตกรุงเทพมหานคร พ.ศ. 2553article

โดยที่เป็นการสมควรตราข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครว่าด้วย  การควบคุมการนำช้างมาหารายได้ในเขตกรุงเทพมหานคร

อาศัย อำนาจตามความในมาตรา 89 มาตรา 90 มาตรา 97 และมาตรา 119 แห่งพระราชบัญญัติระเบียบบริหารราชการกรุงเทพมหานคร พ.ศ.2528 อันเป็นพระราชบัญญัติที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและ เสรีภาพของบุคคลซึ่งมาตรา 29 มาตรา 32 มาตรา 41 และมาตรา 43 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้ โดยอาศัยอำนาจตาม บทบัญญัติแห่งกฎหมาย กรุงเทพมหานครโดยความเห็นชอบของสภากรุงเทพมหานคร  จึงตราข้อบัญญัติกรุงเทพมหานครขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้

มาตรฐานการจัดกิจกรรมปางช้าง เพื่อการท่องเที่ยว

"มาตรฐานการจัดกิจกรรมปางช้าง เพื่อการท่องเที่ยว" จัดทำขึ้นโดยมี กรมการท่องเที่ยว เป็นหน่วยงานหลัก และมีมูลนิธิกองทุนรักษ์ช้าง เป็นหนึ่งในคณะจัดทำ การจัดทำมาตรฐานนี้ ก็เพื่อให้สอดคล้องกับแนวคิดการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ส่งเสริมให้ประเทศไทย เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่มีคุณภาพ และได้มาตรฐานในระดับที่นานาชาติให้การยอมรับ และเพื่อให้ช้างไทยได้รับการดูแลที่เหมาะสม กับการเป็นสัตว์สัญลักษณ์ประจำชาติ ของประเทศไทย

1 [Go to top]